วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรคเอสแอลอี SLE หรือ โรคลูปัส

โรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus
- SLE) หรือ โรคลูปัส


จัดเป็นโรคที่เรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกลุ่มภูมิคุ้มกันเพี้ยน ซึ่งไม่ได้เป็นโรคที่มีอันตราย
ร้ายแรงอย่างที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจ โรคเอสแอลอีเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการผลิตโปรตีน
ของภูมิคุ้มกันในเลือดที่เรียกว่า "แอนติบอดี้" ขึ้นมามากเกินปกติ ทำให้เกิดปัญหา
ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือจากปกติที่
ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะต่อต้านเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย 
หรือไวรัสจากภายนอกร่างกาย  แต่กลับต่อต้านร่างกายของตัวเอง จนทำให้
เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ  ถ้าเป็นรุนแรงจะมีการทำลายอวัยวะภายในด้วย เช่น 
ไต หัวใจ ปอด และระบบประสาท 

          สำหรับความรุนแรงของ โรคเอสแอลอี จะแตกต่างกันไปในแต่ละคนบางคน
เป็นรุนแรง บางคนเป็นไม่รุนแรง และในรายที่เป็นไม่รุนแรงวันดีคืนร้ายก็จะเป็นรุนแรงขึ้นมา
ได้อีก ในปัจจุบัน โรคเอสแอลอี ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุม
อาการของโรคให้สงบ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากรักษาได้ทันท่วงที

          ทั้งนี้ ผู้ป่วยด้วย โรคแอสเอลอี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน 
อายุระหว่าง 20-45 ปี อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี โดยผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย
ประมาณ 9:1 และพบได้ในทุกเชื้อชาติ แต่จะพบในคนผิวดำและผิวเหลืองมากกว่าผิวขาว 
โดยเฉพาะบริเวณเอเชียตะวันออก  เช่น ไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฮ่องกง และจีน

 สาเหตุของ โรคเอสแอลอี 
          ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของ โรคเอสแอลอี แน่ชัด  
แต่จากหลักฐานทางการวิจัยพบว่า โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์, ฮอร์โมน 
และการติดเชื้อโรค (โดยเฉพาะเชื้อไวรัส) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ผู้ป่วย
ที่เป็นหรือมีโอกาสเป็น โรคเอสแอลอี มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น แสงแดด โดยเฉพาะ
แสงอุลตร้าไวโอเลต การตั้งครรภ์ และยาบางชนิด

          1. พันธุกรรม พบว่าในแฝดจากไข่ใบเดียวกันมีโอกาสเกิดโรคนี้ถึงร้อยละ 
30-50 และร้อยละ 7-12 ของผู้ป่วยเอสแอลอี เป็นญาติพี่น้องกัน เช่น แม่และลูกสาว 
หรือในหมู่พี่น้องผู้หญิงด้วยกัน

          2. ติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่จนถึงปัจจุบัน ยังไม่สามารถค้นพบ
เชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้

          3. ฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะเอสโตรเจน โรคที่พบมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 
บ่งชี้ว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ความรุนแรงของโรคยังแปรเปลี่ยน
ตามการมีครรภ์ ประจำเดือน และการใช้ยาคุมกำเนิด

          4. แสงแดดและสารเคมี ยาบางอย่างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
ทางพันธุกรรม โรคแสดงอาการของโรคนี้ได้

 อาการของ โรคเอสแอลอี

โรคเอสแอลอี

          โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่มีลักษณะการแสดงออกได้หลากหลาย อาจมีอาการ
เฉียบพลันและรุนแรง หรือมีอาการค่อยเป็นค่อยไปเป็นช่วยระยะเวลานานหลายปี 
หรืออาจมีอาการแสดงออกของหลายอวัยวะในร่างกายพร้อมๆ กัน หรือมีการแสดงออก
เพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทีละอย่างก็ได้ โดยอาการที่พบบ่อยนั้น ได้แก่ มีไข้ ผื่นขึ้นที่ใบหน้า 
เกิดแผลในปาก ผมร่วง มีอาการปวดข้อ บางครั้งก็เป็น พอรักษาก็หายไป แต่แล้วก็เป็น
ขึ้นมาอีก ส่วนอาการอื่นๆ มีดังนี้

           อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด เป็นอาการที่พบได้บ่อยใน
ขณะโรคกำเริบ

           อาการทางผิวหนังและเยื่อบุช่องปาก ในระยะเฉียบพลันที่พบได้บ่อยที่สุด 
คือ ผื่นรูปปีกผีเสื้อ ลักษณะเป็นผื่นบวมแดงนูนบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ผื่นจะ
เป็นมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ปลายเท้าซีดเขียวเมื่อถูกน้ำหรืออากาศเย็น ผมร่วง มีแผลในปาก

           อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เป็น
อาการปวดข้อมากกว่าลักษณะข้ออักเสบ มักเป็นบริเวณข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ 
ข้อเท้า หรือข้อเข่า เป็นเหมือนๆ กันทั้ง 2 ข้าง ร้อยละ 17-45 พบอาการปวดกล้ามเนื้อ

           อาการทางไต ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการทางไตเป็นอาการนำ 
อาการแสดงที่สำคัญของไตอักเสบจากลูปัส ได้แก่ บวม ปัสสาวะเป็นฟอง ตรวจพบโปรตีน
ในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง

           อาการทางระบบเลือด อาการที่พบได้แก่ อ่อนเพลียหน้ามืดจากภาวะซีด 
เม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และเกร็ดเลือดต่ำ อาจพบจุดจ้ำเลือดออกตามตัวได้

           อาการทางระบบประสาท อาการที่พบได้ คือ อาการชักและอาการทางจิต 
นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศรีษะรุนแรง หรือมีอ่อนแรงของแขนขา อาจพบได้ในระยะที่โรคกำเริบ

           อาการทางปอดและเยื่อหุ้มปอด อาการที่พบบ่อย คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ 
อาการแสดงคือเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าสุด ตรวจพบมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด 
บางรายมีอาการปอดอักเสบซึ่งต้องแยกจากปอดอักเสบติดเชื้อ
           อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่พบบ่อยคือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ 
ซึ่งมักพบร่วมกับเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการ เจ็บหน้าอก มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ 
เหนื่อยง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแข็งจากการได้
รับยาสเตียรอยด์นานๆ นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
จากไตอักเสบเรื้อรัง และจากการได้รับยาสเตียรอยด์

           อาการทางระบบทางเดินอาหาร ไม่มีอาการที่จำเพาะสำหรับโรคลูปัส 
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยารักษา
โรคลูปัส เช่น NSAIDS ยาสเตียรอยด์ อาการยังคงอยู่ได้แม้จะหยุดยาไปเป็นสัปดาห์

ด้วยความปราถนาดีจาก
Nutriga และ S Vera by Successmore
สนใจผลิตภัณฑ์ 098-284-6224

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภัยเงียบของไขมันอุดตันเส้นเลือด


"ไขมันอุดตัน...อันตราย"

โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดจะเกิดขึ้น เมื่อมีการสะสมของไขมันหรือเส้นใยสะสม
และ ก่อตัวเป็นแผ่นไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ แผ่นไขมันที่ก่อตัวขึ้นทำให้
หลอดเลือดแดงแคบลงและอาจลดเลือดที่ไปเลี้ยง อวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจและ
สมองทำให้มีอาการ เช่น คออักเสบ หรือภาวะขาดโลหิตเนื่องจากการอุดตันของ
ทางเดินโลหิตฉับพลัน นอกจากนี้แผ่นไขมันยังสามารถแตกออกได้ทำให้ปิดกั้น
กระแสโลหิตทั้งหมดแบบฉับ พลัน หากเกิดในหัวใจจะทำให้เป็นโรคหัวใจวาย
และหากเกิดในสมองจะทำให้เป็นโรคเส้นโลหิตในสมองอุดตัน ซึ่งสาเหตุอาจมาจาก
1. กรรมพันธุ์
2. ที่รับประทานอาหารพวกแป้งมากเกินไป
3. อ้วน หรือน้ำหนักเกิน
4. การขาดการออกกำลังกาย
5. เพศ/อายุ
6. ดื่มสุรามาก
7. ความเครียด
8. ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมนsteroid
9. โรคบางอย่างมักจะร่วมกับภาวะไขมันสูงได้แก่ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต 

ต่อมธัยรอยด์ ทำงานน้อย
 

อาการ
สังเกตง่ายๆบางคนมีอาการคล้ายเป็นโรคหัวใจเช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก 

บางคนเป็นจนรู้สึกว่าหัวใจหยุดเต้นไปชั่วขณะก็มี อันตรายมากนะคะวิธีการรักษา
ก็มีหลายวิธีตามอาการไป คนส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นแบบเฉียบพลัน คือแสดงอาการ
และไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทันเพราะไม่คิดว่าจะเป็นอาการของโรค นี้ เพราะบางคนจะมี
การจุกแน่นที่ลิ้นปี่คล้ายอาการของโรคกระเพาะ
_______________________________________
"เบาหวาน-ความดัน-ไขมันสูง-โรคหัวใจ" 

4 แพคเกจโรคร้ายทำลายสุขภาพ

มีปัญหาสุขภาพ ปรึกษาเรา"ฟรี"
โทร. 0982846224
Successmore หนองจอก

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

ซีบัคธอร์น The Beauty Treatment Fruit

ซีบัคธอร์น The Beauty Treatment Fruit
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Hippophae Rhamnoides
ชื่อสามัญ : ซีบัคธอร์น (Seabuckthorn)

         ซีบัคธอร์นจัดเป็นพืชไม้พุ่มในตระกูล Elaeagunus มีอายุมาแล้วประมาณ 25 - 40 ล้านปี
ซีบัคธอร์นเติบโตขึ้นเป็นพุ่มไม้หนา มีหนามมากใบของซีบัคธอร์นจะมีสีอ่อนแก่แตกต่างกันไป ลักษณะของ
ใบ เรียว และยาว 3 - 8 เซนติเมตร โดยทั่วไปขนาดความสูงของต้นซีบัคธอร์นจะอยู่ที่ 0.5 - 6 เมตร แต่ในตอนกลาง
ของทวีปเอเชียจะพบขนาดความสูงของต้นซีบัคธอร์นถึง 18 เมตร ซีบัคธอร์นสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่
แห้งแล้งและเป็นดินทราย สามารถทนต่อสภาพอากาศหนาวจัดและดินเค็มได้ดี ซีบัคธอร์นสามารถ เจริญเติบโต
ได้ในอุณหภูมิตั้งแต่ - 40 ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ซีบัคธอร์นเป็นพืชที่ ต้องการแสงแดดมากและจะไม่สามารถทน
ได้หากต้องอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่ของประเทศที่ปลูกซีบัคธอร์นจะพบว่าผลของซีบัคธอร์น
จะเริ่มสุกใน เดือนกันยายน และน้ำหนักของผลที่สุกเต็มที่จะอยู่ที่ 4 - 60 กรัม ต่อซีบัคธอร์น 100 ผล
ทั้งนี้จะให้สีที่แตกต่างกันไปเช่น สีเหลือง สีแดงและสีส้ม (Rousi and Aulin, 1977; Li, 1999)

        ซีบัคธอร์น แบ่งเป็นพืชเพศเมียและพืชเพศผู้ โดยพืชเพศผู้จะผลิตดอกสีน้ำตาล เป็นละอองเกสรดอกไม้ 
เพื่อแผ่พันธุ์ไปตามลม พืชเพศเมียจะผลิตผลเบอร์รี่ขนาด 6 - 9 มิลลิเมตร ซึ่งในผลเบอร์รี่นี้อุดมไปด้วยวิตามินและ
แร่ธาตุนานาชนิด ได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินอี แคโรทีนนอยด์ กรดไขมัน และกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย

        เคยมีตำนานเล่าว่า ในสมัยกรีกโบราณ ได้มีการใช้ซีบัคธอร์นเพื่อบำบัดรักษาม้า จากฝูงม้าที่เคยผอมแห้ง 
 ไม่มีกำลังวังชา ได้กลายเป็นม้าที่มีขนดกเงางาม และดูสง่างาม ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากตำนานนี้เอง
 จึงให้ชื่อพันธุ์ของต้นซีบัคธอร์นว่า Hippophae โดยคำว่า Hippo แปลว่า ม้า และ Phaos ที่แปลว่า ส่องแสง เงาวาว
(Rongsen, 1992) จากการวิจัยทางเภสัชศาสตร์และทางคลินิคพบว่าการทำงานของซีบัคธอร์นมีผลต่อส่วนต่างๆ
ของร่างกาย 10 อย่างดังนี้ 
             1.  ผลต่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เช่น ภูมิคุ้มกันเซลล์
    2.  ต่อต้านการเกิดเนื้องอก
    3.  ผล ต่อเลือด หัวใจและระบบสมอง เช่น ต้านทานเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ การไหลเวียนของเลือด
    พัฒนาระบบไหลเวียนเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจ รักษาอาการที่เกิดจากการอักเสบที่ลำคอจนหายใจไม่ออก
    ส่งเสริมการทำงานของหัวใจ เพิ่มการยืดหยุ่นของเส้นเลือด ป้องการเกิดลิ่มในเส้นเลือดลดไขมันในเส้นเลือด
    4.  ผลต่อระบบเลือด เช่น เสริมสร้างเซลล์ เพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงาน
             5.  ผล ต่อระบบการย่อยอาหารเช่น เร่งการรักษาอาการที่เกิดกับกระเพาะอาหาร เพิ่มการขับถ่ายของต่อม
                  บริเวณลำไส้ ต่อมกระเพาะและต่อมน้ำลาย การขับพิษ การรักษาการบาดเจ็บของตับ
             6.  ต่อต้านภาวะที่เกี่ยวกับการสูงอายุขึ้น โดยจะเพิ่มปริมาณ SOD ลดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
                   ปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์
             7.  ลดภาวะการบวมน้ำ
             8.  ซ่อม แซมและรักษา โดยน้ำมันในเมล็ดช่วยสร้างเยื่อบุผิวขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาการ
                  ซ่อมแซมรักษา  3 ระดับคือ จากการไหม้ แผลและการเจ็บป่วยจากการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
            9.  ผลต่อการเพิ่มความสามารถในการต้านทานความหนาว ต้านทานจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนและ
                 ต้านทานความอ่อนเพลีย
           10. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการเผาผลาญ เสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งทางกายภาพคือความสูงและ
                 ทางด้านความฉลาดแก่เด็ก
    ซีบัคธอร์นมีคุณค่าต่อทุกส่วนของร่างกาย เป็นทั้งยารักษาโรคและเป็นดั่งของขวัญที่มีคุณค่าทางนิเวศวิทยา
    และทางสังคม ซีบัคธอร์นเป็นพืชหายาก เป็นเสมือนราชาของพืชที่มีมนตร์ และเป็นสมบัติล้ำค่าของแผ่นดินจีน

สนับสนุนโดย เครื่องดื่มซีบัคธอร์น ตรา MOE
สนใจผลิตภัณฑ์ 098-284-6224 , 096-857-8124

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระดูกและข้อช่วยได้ด้วยกระดูกอ่อนปลาฉลาม

Deer

Deer ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เดียร์

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เดียร์

แคลเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน พร้อมคุณค่าจาก
กระดูกอ่อนปลาฉลาม แมกนีเซียม
แอล-อาร์จีนีนและวิตามินดี ช่วยบำรุงข้อต่อและกระดูก อยู่ในรูปแบบ
ผงชงดื่ม รสชาติทานง่าย

วิธีรับประทาน
รับประทานวันละ 1 ซอง ในน้ำอุณหภูมิธรรมดาหรือน้ำเย็น 120-150 มล.
ใช้ช้อนคนให้ละลาย ดื่มก่อนอาหารเช้า

คำเตือน : อ่านคำเตือนบนฉลากก่อนบริโภค
ปริมาณสุทธิ 15กรัมx15ซอง
เลขที่ อย.24-1-20555-1-0381

ส่วนประกอบสำคัญ


ส่วนผสมที่ใช้งาน(active ingredients)

กระดูกอ่อนปลาฉลาม(Shark cartilage powder) 6300 mg.
แคลเซียม อมิโน แอซิด คีเลต 20%(Calcium amino acid chelate)  3000 mg. 
แอล-อาร์จินิน โมโนไฮโดรคลอไรด์(L-Arginine monohydrochloride) 1000 mg.
แมกนีเซียม อมิโน แอซิด คีเลต 20%(Magnesium amino acid chelate) 1300 mg.
ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์(Citrus bioflavonoid)   900 mg.
ซิ้งค์ อมิโน แอซิด คีเลต 20%(Zinc amino acid chelate)   60 mg.
วิตามิน ซี(Ascobic acid)  60 mg.
สารสกัดจากขมิ้นชัน(Turmeric extract powder)  50 mg.
วิตามินบี 6(Pyridoxine hydrochloride)  2 mg.
วิตามินดี 3(Dry Vitamin D3) 1.5 mg.
วิตามินบี 7(D-Biotin)  0.15 mg.

ส่วนผสมที่ ไม่ได้ใช้งาน(inactive ingredients)

เด็กซ์โตรส(Dextrose) 2028.35 mg.
กรดซิตริก(Citric acid anhydrous USP/FCC)  250 mg.
Orange flavor (Nature identical flavor)(Food Grade)  20 mg.
ซูคราโรส(Sucralose :FCCV/USP30) 18 mg.
อะซีซัลเฟม-เค(Acesulfame K)  10 mg.

รวม        15,000 mg.

 

มีปัญหาสุขภาพ ปรึกษาเรา"ฟรี"
โทร. 0982846224
Successmore หนองจอก

 

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

ผลวิจัยกระดูกอ่อนปลาฉลาม (คลิป)

คุณประโยชน์ของกระดูกอ่อนปลาฉลาม


มีปัญหาสุขภาพ ปรึกษาเรา"ฟรี"
โทร. 0982846224
Successmore หนองจอก

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

โกรทฮอร์โมนสำคัญมากแค่ไหน

หน้าที่โดยตรง 
        ฮอร์โมนจับกับเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณ (receptor) ของโกรทฮอร์โมนอยู่โดยตรงแล้วทำให้มีการ กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์นั้นได้แก่ตับ เนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง แมคโคเฟจ และเซลล์ไขมัน(adipocyte) จะทำให้มีการสลายไทรกลีเซอไรด์ และลดการขนถ่ายกรดไขมันเข้าเซลล์ เป็นต้น

หน้าที่โดยอ้อม 
        โกรทฮอร์โมนจะออกฤทธิ์ผ่านโซมาโทมีดิน (somatomedin) โดยเฉพาะโซมาโทมีดิน ซี หรือที่เรียกว่าตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน(insulin-like growth factor-I : IGF-I) โดยโกรทฮอร์โมนจะกระตุ้นให้มีการสร้าง IGF-I ซึ่งส่วนใหญ่เกิดที่ตับ จากนั้น IGF-I จะไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะเป้าหมายอีกทีหนึ่ง 
การออกฤทธิ์ของโกรทฮอร์โมนมีทั้งออกฤทธิ์โดยตรงต่อเซลล์ต่างๆ และออกฤทธิ์ทางอ้อมผ่าน IGF-I
  
        IGF-I เป็นเปปไทด์ฮอร์โมนที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายอินซูลิน มี 2 ชนิด คือ IGF-I และIGF- II ส่วนใหญ่จะมีการสร้าง IGF-I มากกว่า ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ ส่วน IGF-lI จะมีบทบาทสำคัญในการเจริญของทารกในครรภ์มารดา IGF-I นอกจากสร้างได้ที่ตับแล้ว อวัยวะอื่นที่สร้าง IGF-I ได้แก่ กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ ไต สมอง และต่อมเพศ 

การกระตุ้นการเจริญเติบโต
       การเจริญเติบโตเป็นขบวนการซับซ้อน และอาศัยการทำงานของหลายฮอร์โมน หน้าที่หลักของโกรทฮอร์โมนคือการกระตุ้นให้ตับและเนื้อเยื่อหลั่ง IGF- I, ซึ่ง IGF-I นี้จะกระตุ้น เซลล์ของกระดูกอ่อน(cartilage cell or chondrocyte) ทำให้มีการแบ่งตัว ของเซลล ์กระดูกอ่อน นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อก่อนถึงปลายกระดูกที่ปลายกระดูกอ่อน (epiphyseal plate)โดยกระตุ้นการขนถ่ายกรดอะมิโนในการสร้างโปรตีนที่กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ (hyperplasia) และขยายขนาด (hypertrophy) เพิ่มขึ้น 
       เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ร่างกายยังต้องการใช้กรดอะมิโน ในการสร้างโปรตีนอยู่ เพื่อควบคุมเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรต
การควบคุมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนและอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญของโกรทฮอร์โมน 
ผลต่อคาร์โบไฮเดรตเมแทบอลิซึม
       หน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด โกรทฮอร์โมนทำหน้าที่ยับยั้งการทำงาน ฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ปริมาณกลูโคสที่จะเข้าเซลล์ลดน้อยลงและยังร่วมกับเซลล์ที่ตับ สลายไกลโคเจน  (glycogen) เข้ากระแสเลือดเพิ่มขึ้นด้วย 

ผลต่อโปรตีนเมแทบอลิซึม
       โกรทฮอร์โมนทำงานโดยการกระตุ้นการสร้างโปรตีนที่เนื้อเยื่อหลายชนิด โดยเพิ่มการดูดซึม กรดอะมิโนเพื่อนำไปสร้างเป็นโปรตีน และลดการสลายโปรตีนจากเซลล์ ทำให้มีการสะสมของ ไนโตรเจนในร่างกายมากขึ้น และปริมาณไนโตรเจนจากสารยูเรีย (urea nitrogen) ที่ขับออก ทางปัสสาวะ ลดน้อยลง 

ผลต่อไขมันเมแทบอลิซึม 
       โกรทฮอร์โมนกระตุ้นการใช้เซลล์ไขมัน โดยกระตุ้นการสลายไทรกลีเซอไรต์( triglyceride) ทำให้ได้กรดไขมันอิสระ (free fatty acid) เพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์อื่นๆเช่นเซลล์กล้ามเนื้อ นำกรดไขมันอิสระ ไปใช้เป็นพลังงานแทนกลูโคสได้มากขึ้น ทำให้มีสารคีโตนที่ได้จากการสลายไขมันในร่างกายมากขึ้น

มีปัญหาสุขภาพ ปรึกษาเรา"ฟรี"
โทร. 0982846224
Successmore หนองจอก

สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือแดง

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ ชื่อสามัญ Lingzhi mushroom, Reishi mushroom
เห็ดหลินจือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma lucidum (Curtis) P. Karst จัดอยู่ในวงศ์ GANODERMATACEAE
สมุนไพรเห็ดหลินจือ มีชื่อเรียกอื่นว่า เห็ดหมื่นปี, เห็ดอมตะ เป็นต้น
เห็ดหลินจือ จัดเป็นยาจีนที่ใช้กันมายาวนานกว่า 2,000 ปีแล้ว (Chinese traditional medicine) โดยใช้กันนับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือ ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติมีมากมายกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่นิยมและมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุดคือ สายพันธุ์สีแดง หรือ เห็ดหลินจือแดง หรือ กาโนเดอร์ม่า ลูซิดั่ม (Ganoderma lucidum) โดยในเห็ดหลินจือจะมีสารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งจะช่วยยับยั้งและรักษาอาการต่าง ๆ (ประโยชน์ด้านล่าง) โดยแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารพอลิแซ็กคาไรด์ในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์สีแดงที่กล่าวข้างต้น
เห็ดชนิดนี้จัดว่าเป็นของหายากที่มีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน โดยมีการยกย่องว่าเป็นยอดเห็ด เป็นเห็ดที่ดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน เพราะได้มีการบันทึกในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” (ตำราเก่าแก่ที่คนจีนนับถือกันมากที่สุด) ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือนี้เป็นเทพเจ้าแห่งชีวิต ที่มีพลังมหัศจรรย์นักวิทยาศาสตร์พบว่าในเห็ดชนิดนี้มีสารต่าง ๆที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 250 ชนิด !!เป็นยาบำรุงร่างกายและใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง รักษาโรคต่าง ๆได้หลายโรค และยังปลอดภัยไม่มีสารพิษใด ๆ ต่อกับร่างกาย !
เห็ดหลินจือในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเห็ดหลินจือออกมาจำหน่ายค่อนข้างมาก สำหรับการเลือกซื้อคุณควรศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก เพราะเห็ดหลินจือที่จะมีคุณภาพดีนั้น จะต้องได้รับการเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสม ทั้งความชื้น แสงสว่าง รวมไปถึงสารอาหารที่ได้รับ และสิ่งที่ต้องดูอีกเรื่องก็คือขั้นตอนการแปรรูป ตรงนี้ก็สำคัญเพราะเป็นกระบวนการที่จะต้องสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเห็ดออกมาให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องให้ความสนใจด้วย โดยต้องเป็นบรรจุ ภัณฑ์ที่สามารถกันความชื้นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะไวต่อความชื้นเป็นพิเศษและความชื้นจะทำให้เห็ดหลินจือขึ้นราได้นั่นเอง

ประโยชน์ของเห็ดหลินจือ

  1. สรรพคุณของเห็ดหลินจือเห็ดหลินจือสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย
  2. ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง สีหน้าแจ่มใส
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  4. สรรพคุณเห็ดหลินจือใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยทำให้อายุยืนยาว
  5. ช่วยชะลอแก่ ชะลอวัย
  6. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรง
  7. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น
  8. ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  9. ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น
  10. ช่วยผ่อนคลายระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้นอนหลับได้สนิท
  11. ช่วยทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ดีขึ้น
  12. สรรพคุณช่วยรักษาและต่อต้านมะเร็ง โดยส่งเสริมภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสร้างสารต้านมะเร็
  13. ช่วยแก้พิษจากรังสี คีโม เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำจากคีโม ท้องเสียอักเสบจากการฉายรังสี อาการปวดจากพิษบาดแผล
  14. ช่วยลดความดันโลหิตและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  15. ช่วยปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำให้สมดุล
  16. ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  17. ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองและหัวใจอุดตัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต
  18. ช่วยลดไขมันในเลือด
  19. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาทให้ทุเลายิ่งขึ้น
  20. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมอาการเบาหวาน
  21. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด
  22. ช่วยรักษาโรคประสาท
  23. สรรพคุณของเห็ดหลินจือช่วยบำรุงตับ และรักษาโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ
  24. เห็ดหลินจือรักษาโรคไตเรื้อรังบางชนิด โดยช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น
  25. ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคลมบ้าหมู
  26. ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ
  27. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
  28. ประโยชน์เห็ดหลินจือช่วยขับปัสสาวะ
  29. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  30. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดตามข้อ
  31. ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเกาต์
  32. ช่วยสลายใยแผลเป็น หรือพังผืดหดยืด ทำให้ในแผลเป็นอ่อนนิ่มและหดตัวเล็กลง
  33. ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัส อย่าง ไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด
  34. ช่วยรักษาโรคลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง (SLE) หรือโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ
  35. ช่วยแก้อาการป่วยบนที่สูง เช่น อาการหูอื้อ
  36. ช่วยรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจหล้มเหลว เส้นเลือดหัวใจตีบ
  37. ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือน
  38. ช่วยแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก
  39. ช่วยป้องกันการเสื่อมสรรถภาพทางเพศ
  40. เห็ดหลินจือจัดเป็นสเตียรอยด์ธรรมชาติ ซึ่งไม่มีสารพิษหรือผลข้างเคียงเหมือนกับสเตรียรอยด์สังเคราะห์

ข้อควรรู้และคำแนะนำ

  • เห็ดหลินจือเหมาะกับใคร? เนื่องจากเห็ดชนิดนี้มีสรรพคุณที่ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคซะเป็นส่วนใหญ่ มันจึงเหมาะกับโรคของผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุ ที่เป็นโรคดังกล่าวข้างต้น
  • รูปแบบของการรับประทาน แบ่งได้หลายรูปแบบ อย่างแรกเลยก็คือยาต้มแบบโบราณ ด้วยการนำเห็ดหลินจือที่แห้งนำมาต้มและเคี่ยว ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างยุงยากและไม่สะดวก แบบที่สอง คือเนื้อเห็ดหลินจือบดเป็นผงบรรจุแคปซูล หากไม่ผ่านการฆ่าเชื้ออาจทำให้มีเชื้อราปนเปื้อนได้ โดยรูปแบบนี้จะมีความเข้มน้อยและดูดซึมได้ยาก แบบที่สามซึ่งเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ เห็ดหลินจือสกัด หรือ สารสกัดจากเห็ดหลินจือแคปซูล ซึ่งจะได้สารสกัดที่เข้มข้นมีสรรพคุณที่ดีกว่า ดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดีกว่า ที่สำคัญก็คือมีมาตรฐานการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย เช่น เห็ดหลินจือโครงการหลวง
  • เห็ดหลินจือกินอย่างไร? สำหรับเวลาที่เหมาะสมก็คือการรับประทานตอนเช้าในขณะที่ท้องว่าง แล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ถ้าทานร่วมกับวิตามินซีด้วยก็จะดีมากเพราะจะช่วยเสริมสรรพคุณ และสำหรับผู้ที่ต้องกินยากดภูมิต้านทานหรือผู้ที่เป็นโรค SLE หรือผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะควรงดการรับประทาน
  • ผลข้างเคียงของเห็ดหลินจือ สำหรับผู้ที่เริ่มรับประทานเห็ดหลินจือใหม่ ๆ อาจจะรู้สึกเวียนศีรษะ อาเจียน ง่วงนอน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ เกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย ผิวหนังเกิดอาการคัน เป็นต้น แต่ก็ถือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่เป็นเรื่องปกติของการบำบัดด้วยสมุนไพร เมื่อตัวยาเข้าไปในร่างกาย จะเข้าไปชำระล้างสารพิษต่าง ๆ ให้สลายไปหรือเคลื่อนไปช่วยย้ายขับสารพิษออกจากร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-7 วันก็จะกลับสู่สภาวะปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน หากมีอาการคุณสามารถรับประทานต่อไปได้เลย แต่หากมีอาการมากก็ควรลดปริมาณลง จนกว่าอาการจะเป็นปกติและให้รับประทานตามคำแนะนำต่อไป และสำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ก็สามารถรับประทานเห็ดชนิดนี้ควบคู่ไปได้
แหล่งอ้างอิง : นพ.นิวัฒน์ ศิตวัฒน์, รศ.พญ.นริสา ฟูตระกูล, นพ.บรรเจิด ตันติวิท

มีปัญหาสุขภาพ ปรึกษาเรา"ฟรี"
โทร. 0982846224
Successmore หนองจอก

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

สารพันประโยชน์ เครื่องดื่มว่านหางจระเข้

S Vera Aloe Vera Juice 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่มน้ำว่านหางจระเข้



        ว่านหางจระเข้  สายพันธุ์ อโล บาร์บาเดนซิส มิล ซึ่งเป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพ และ การบำบัดโรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะใช้ใน วงการแพทย์แผนโบราณ และแพทย์แผนใหม่ ทำให้ว่านหางจระเข้ได้รับการยอมรับใน‬ ประโยชน์อันทรงคุณค่ามาเป็นเวลานับทศวรรษ จนได้รับการขนานนามว่า “พืชมหัศจรรย์” หรือ “อายุวัฒนะ” มาช้านานว่านหางจระเข้ประกอบด้วย สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 200 ชนิด


คุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้ต่อส่วนต่างๆ‬ 

กระเพาะ ช่วยสมานแผลในกระเพาะและลำไส้ ลำไส้ปรวนแปร ช่วยควบคุมและฆ่าเชื้อโรค อัน เป็นสาเหตุต้นกำเนิด เบาหวาน ช่วยลดระดับ น้ำตาลในเลือด 

ไต กระตุ้นระบบการทำงานของไต ให้สามารถขับถ่าย ของเสียออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ภูมิแพ้ สารมูโคโพลีแซคคาไรด์ มีประสิทธิภาพสูงในการ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ข้ออักเสบ, ปวดตามข้อ สารในว่านหางจระเข้ ช่วยลดอาการอักเสบ อ่อนเพลีย ว่านหางจระเข้ มีประสิทธิภาพในการเสริมขบวนการเผาผลาญ สารอาหารของร่างกาย (Metabolism) ให้ดียิ่งขึ้น ให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ไปใช้ประโยชน์ ได้ดียิ่งขึ้น

แผลสด, พุพอง ช่วยกระตุ้นระบบการสร้างเนื้อเยื่อ และการไหลเวียนของเส้นเลือดในจุดที่เป็นแผล  ทั้งยังกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน  ทำให้แผลหายได้เร็ว นุ่ม ชุ่มชื้น ไม่เกิดเป็นแผลเป็น มะเร็ง มีอโลบิซิน และอโลคูติน สามารถระงับและ ยับยั้งการขยายตัวของเชื้อไวรัสของเซลล์มะเร็ง


‪ว่านหางจระเข้เหมาะสำหรับบุคคลดังต่อไปนี้‬

ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือแผล
ในกระเพาะอาหาร รวมถึงผู้ที่ท้องผูก อาหารไม่ย่อย

ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับยาก โดยจะช่วย
ให้เกิดสภาวะการหลับลึก ให้เกิดการพักผ่อนอย่างแท้จริง

พร้อมปรับสภาวะสมดุลของร่างกาย
ผู้ที่มีแผลในลำไส้ โดยจะช่วยสมานแผลที่ลำไส้เล็ก
ตอนต้น

ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ช่วยทำให้เส้นเลือด
ในสมองมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น

ผู้ที่เป็นโรคหวัด โดยจะเสริมภูมิคุ้มกันต่อต้าน
เชื้อไวรัส ทังยังช่วยฆ่าเชื้อทำให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ (รับประทานต่อเนื่อง 2-3 เดือน)

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โดยช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ
และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ผู้ที่เป็นโรคตับหรือมีปัญหาเรื่องตับ โดยจะฟื้นฟู
การทำงานของตับ

ผู้ที่เป็นโรคสีดวงทวาร (ใช้ทา)
ผู้ที่เป็นแผลในช่องปากหรือมีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
โดยจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อและสมานแผล

ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว
ในระบบภูมิคุ้มกันเชื้อโรค

ช่วยต้านและยับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
และเชื้อไวรัส

ช่วยบำรุงผิวพรรณและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
รวมทั้งลดอาการแพ้ของผิวที่บอบบาง

ผลิตภัณฑ์ ได้รับการรับรองจาก
น.พ สิทธวีร์ เกียร์ติชวนันต์
แพทยศาสตรบัณฑิต สิริราชพยาบาล
เลขที่อ.ย 73-1-05036-2-0009

มีปัญหาสุขภาพ ปรึกษาเรา"ฟรี"
โทร. 0982846224
Successmore หนองจอก

ไขมันทรานส์ภัยเงียบของคนเมือง

ไขมันทรานส์ สารอาหารตัวร้าย
Article: นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์

     เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.2013 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ประกาศเลิกใช้ไขมันทรานส์ในอาหารที่มีขายโดยทั่วไปทั้งประเทศ ทำให้ไขมันทรานส์ได้รับความสนใจขึ้นมามาก การประกาศนี้เป็นผลตามหลังมาจากการผ่านกฎหมายท้องถิ่นของมลรัฐนิวยอร์คและคาลิฟอร์เนียที่ห้ามใช้ไขมันทรานส์ในภัตตาคารในปี ค.ศ.2006 และ ค.ศ.2008 ตามลำดับ ขณะนี้บริษัทอาหารจานด่วนยักษ์ใหญ่อย่างแมคโดนัลด์และดังกิ้นโดนัทก็ได้เริ่มทำการเปลี่ยนสูตรอาหารไร้ไขมันทรานส์กันแล้ว

ไขมันทรานส์คืออะไร
     ไขมันทรานส์ คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการเพิ่มอะตอมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยจะแข็งตัวมีทรงมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมเสีย เหม็นหืนช้าลง ดังนั้นอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์จึงเก็บได้นานขึ้นและมีความเป็นมันย่องน้อยลง มีรสชาติดี ไม่เละ และมีความนุ่มนวลมากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารจึงนิยมใช้ผสมในอาหารและขนม แต่ตอนนี้ได้เริ่มมีการบังคับให้เปลี่ยนสูตรอาหารแล้ว

ไขมันทรานส์มาจากไหน

     ไขมันทรานส์นี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่คนเราทำขึ้นและนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารตั้งแต่ช่วงประมาณปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา ส่วนไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติก็มี เช่น ในเนื้อวัว เนื้อหมู แต่ไม่ควรกินมาก 
อาหารที่มีไขมันทรานส์อยู่มาก เช่น ขนมปังกรอบ คุกกี้ เค้ก อาหารทอด เช่น ขนมโดนัท เฟรนช์ฟราย มันทอด ไก่ย่าง กล้วยแขก ปาท่องโก๋ อาหารที่ทอดในน้ำมันซ้ำๆ ก็ยิ่งมีไขมันทรานส์มาก จึงควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งอาหารที่ใส่ shortening (สารที่ทำให้อาหารมีความแข็ง เป็นรูปทรง ไม่เละ) ได้แก่ เนย มาร์การีน ก็มีไขมันทรานส์มาก ควรหลีกเลี่ยงหรือลด ละ เลิก

ผลร้ายจากไขมันทรานส์
     หลังจากคนเราบริโภคไขมันทรานส์มานาน ก็ได้มีการศึกษามากมายแสดงผลเสียของมันต่อสุขภาพ กรมควบคุมและป้องกันโรคอเมริกันได้ประเมินว่า ในแต่ละปีไขมันทรานส์มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 20,000 ราย และมีการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ 7,000 ราย จากสถิติที่สูงแน่ชัดอย่างนี้ทำให้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาต้องออกมาประกาศว่าไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกต่อไป ภัตตาคารต่างๆ ที่มักจะใช้ไขมันทรานส์ในการทอดอาหาร เมื่อมีกฎห้ามใช้ก็จำเป็นต้องหาน้ำมันอย่างอื่นมาใช้แทน ที่สหรัฐอเมริกาสามารถบังคับใช้กฎหมายแบบนั้นได้ แต่เมืองไทยคงยาก เราต้องค่อยๆ ปรับตัวตามเขาไปกินในสิ่งที่ดีกว่า

       ในบรรดาไขมันที่เราบริโภคทั้งหลาย ไขมันทรานส์ (ทางเคมีเรียกว่า กรดไขมันทรานส์) หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า trans fat หรือ trans fatty acid เป็นไขมันตัวร้ายที่สุด เนื่องจากมีความแตกต่างจากไขมันตัวอื่นตรงที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวร้าย หรือ LDL cholesterol และลดระดับคอเลสเตอรอลตัวดีคือ HDL cholesterol สองอย่างนี้ทำให้เกิดการพอกพูนของตะกรันคอเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด อาจจะเรียกได้ว่าร้ายยกกำลังสอง (กว่าไขมันตัวอื่น) ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ตีบตัน ส่งผลให้อวัยวะที่หลอดเลือดนั้นนำเลือดไปเลี้ยงขาดเลือดขาดออกซิเจน เช่น หัวใจขาดเลือด (หัวใจวาย) สมองขาดเลือด (เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์) หรือไตขาดเลือด (ไตวาย) ฯลฯ

     ในหลายกรณีตะกรันคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดมักหลุดลอกทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน มีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน หรือในกรณีหลอดเลือดในสมองก็เกิดอาการทางสมองเฉียบพลัน เช่น ปากเบี้ยว แขนอ่อนแรงเฉียบพลัน นอกจากไขมันทรานส์จะทำให้คอเลสเตอรอลตัวร้ายสูงขึ้นแล้ว ยังมีผลเสียอื่นคือทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งมีผลเสียต่อหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวตีบตันได้เช่นกัน

เลือกกินอย่างไรให้ปลอดภัย
     สิ่งหนึ่งที่เราทำได้คืออ่านฉลากอาหารก่อนซื้อ รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีกฎให้อุตสาหกรรมอาหารต้องมีฉลากติดข้างกล่องระบุว่าอาหารมีส่วนประกอบอะไรบ้าง มีไขมันทรานส์เท่าไหร่ การอ่านฉลากต้องมีความเข้าใจศัพท์พอสมควร เช่น 

     No trans fat ไม่ได้หมายความว่าไม่มีไขมันทรานส์เลย อาจหมายความว่ามีไขมันทรานส์ 0.5 กรัม เพราะเขาอนุญาตให้ติดฉลาด no trans fat ได้ถ้าจำนวนไขมันทรานส์ต่ำกว่า 0.5 กรัม ดังนั้นถ้าเรากินมันเข้าไปมากก็จะได้ไขมันทรานส์มาก 

       Partially hydrogenated oil ก็หมายถึง ไขมันทรานส์นั่นเอง 

      Fully หรือ completely hydrogenated fat ไม่ใช่ไขมันทรานส์ แต่จะเปลี่ยนเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวแทน

      Hydrogenated fat อาจจะมีไขมันทรานส์อยู่ด้วย ผู้บริโภคที่ฉลาดจึงต้องมีความรู้และอ่านฉลากให้เป็นอนึ่งไม่ใช่ไขมันทรานส์อย่างเดียวที่เราต้องหลีกเลี่ยง ไขมันอิ่มตัวทั้งหลายที่เมื่อกินเข้าไปแล้วจะกลายเป็นคอเลสเตอรอลเราก็ต้องหลีกเลี่ยง ไม่ควรกินไขมันอิ่มตัวมาก ไขมันอิ่มตัวภาษาอังกฤษเรียกว่า saturated fat (เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู หนังไก่ หนังเป็ด คอหมู ฯลฯ ) ควรเลือกกินไขมันตรงข้ามคือไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) ได้แก่ น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย ฯลฯ 

      ไขมันที่ดีๆ ที่ควรรู้มีอีกอย่างหนึ่งคือ น้ำมันปลา ซึ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่มาก สารตัวนี้ทำให้ไขมันร้าย ไตรกลีเซอไรด์ลดลง อีกอย่างหนึ่งที่ควรใส่ใจคือ การจงใจกินคอเลสเตอรอล เช่น ไข่แดง (เพราะความอร่อย) มันก็จะไปกลายเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดแน่นอน สำหรับคนที่คอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูงจึงควร (ใช้สามัญสำนึก) หลีกเลี่ยง สำหรับคนที่ระดับคอเลสเตอรอลต่ำกินวันละ 1 ฟองไม่เป็นไร

      จำนวนไขมันทรานส์ที่แนะนำให้บริโภคต่อวันไม่มีใครทราบแน่ว่าเท่าไหร่ดี แต่มักจะแนะนำกันว่าไม่ควรกินเกิน 1% ของจำนวนแคลอรีทั้งหมด หลายท่านอาจจะมีปัญหาเรื่องการคำนวณจำนวนแคลอรี ก็จำไว้ปฎิบัติง่ายๆ คือกินไขมันทรานส์ให้น้อยๆ เข้าไว้ ถ้าหลีกเลี่ยงอาหารทอดทั้งหลายและอาหารที่กล่าวถึงข้างต้


ด้วยความปราถนาดีจาก
หนึ่ง Healthy Online 0982846224


ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร HealthToday