ไขมันพอกตับ
โรคไขมันพอกตับ (fatty liver disease) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับ
และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติเล็กน้อย
โรคนี้มักไม่ทำให้เกิดการเจ็บปวด แต่บางครั้งจะบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease)
- ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease)
- โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี
กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ
ตับทำหน้าที่เหมือนแบตเตอรี่เก็บสะสมพลังงาน การรับประทานอาหารมากเกินไป
ทำให้เกิดไขมันก่อตัวขึ้นในตับ เมื่อตับไม่ได้นำไขมันไปใช้หรือไม่ย่อยสลายไขมัน
ตามที่ควรจะเป็นก็จะเกิดไขมันสะสมขึ้นที่ตับ ในผู้ที่มีภาวะของโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน
เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป
การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และภาวะขาดสารอาหารก็อาจทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้
อย่างไรก็ตามอาจมีผู้ป่วยบางรายที่เกิดไขมันพอกตับได้โดยไม่มีโรคเหล่านี้เลย
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
- โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย
- น้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 25-30)
- เบาหวาน
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
- รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ดื่มชาเขียวที่มีรสหวานแทนน้ำ
ระยะการดำเนินโรคไขมันพอกตับ
โรคไขมันพอกตับแบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือ
พังผืดเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแล
ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแล
ให้ดีและปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป
ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป
ทำให้ตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
อาการ
โดยทั่วไปโรคไขมันพอกตับไม่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็น
โดยทั่วไปโรคไขมันพอกตับไม่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็น
อาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย
รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบ
เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ
การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ
แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น
การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ
- การตรวจเลือด
- การตรวจอัลตราซาวนด์
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ
- การตรวจระดับความแข็งของตับและวัดปริมาณไขมันในตับด้วยเครื่อง FibroScan
แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เช่น
0.25-0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ จนกระทั่งน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควร
2. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หากเป็นไปได้ควร
ออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิกและแบบมีแรงต้าน เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง
แล้วตามด้วยการยกน้ำหนักแบบแรงกระแทกต่ำ
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ
3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ
กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยา
4. หากเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยา
ตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ที่ 098-284-6224 , 096-857-8124
หรือ ติดตามข้อมูลจาก
Fanpage -- https://www.facebook.com/Successmore.Orysamin
คลิปรีวิวลูกค้าทานออริซามินแล้วดีขึ้น https://youtu.be/TvxlrX_lZ44
#successmore #ไขมันในเลือด #เส้นเลือดในสมองแตก #Orysamin
#รับตัวแทนจำหน่าย #ไขมันเกาะตับ #ไขมันไตรกลีเซอไรด์ #ออริซามิน
#น้ำมันรำข้าว #ไขมันอุดตันเส้นเลือด #ไขมันพอกตับ #ไขมันในเลือดสูง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น